หลักการและเหตุผล
กรมควบคุมโรค เผยรายงาน ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำ 1 ม.ค. – 14 ก.ย. 2565 พบกว่า 184 เหตุการณ์ "จมน้ำเสียชีวิต" 174 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี กลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าทุกกลุ่มอายุโดยเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงถึงสองเท่าและโดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายน เนื่องจากว่ายน้ำไม่เป็น ไม่มีทักษะการเอาชีวิตรอด แหล่งน้ำที่เกิดเหตุการณ์ เช่น คลอง แม่น้ำ แหล่งน้ำที่ใช้ในเกษตรกรรม ทะเล สระว่ายน้ำ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตจากการจมน้ำ ได้แก่ ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่มีทักษะการเอาชีวิตรอด ลงเล่นน้ำโดยไม่แจ้งผู้ปกครองดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา ไม่มีป้ายเตือน ไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็ก และมักจะพบว่าในช่วงปิดภาคเรียน (มีนาคม-พฤษภาคม) ของทุกปี เป็นช่วงที่มีสถิติเด็กจมน้ำมากที่สุด
จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในแต่ละปีในเขตพื้นที่ตำบลหอคำ มีเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำและจมน้ำเสียชีวิต เพราะในพื้นที่มีแหล่งน้ำที่เด็กสามารถเล่นน้ำได้ โดยผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบและไม่ตระหนักถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุตรหลาน
เทศบาลตำบลหอคำ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็น จากการจมน้ำ การป้องกันการจมน้ำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งจะต้องมีมาตรการหรือวิธีการป้องกันทั้งในระดับชุมชนหรือระดับครอบครัว ก่อนที่จะเกิดความสูญเสียต่อบุคคลอันเป็นที่รักและเพื่อให้เกิดแนวทางการป้องกันอย่างจริงจังเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ “ตะโกน โยน ยื่น” ประจำปี 2566 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีความรู้ สามารถช่วยเหลือตนเอง หรือพบเห็นอุบัติเหตุคนจมน้ำแล้วสามารถให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันท่วงที ซึ่งจะช่วยเหลือผู้เล่นน้ำหรือรอดชีวิตจากจากการจมน้ำได้
1. วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด
1. เพื่อให้ความรู้และสร้างทักษะให้กับเด็กนักเรียน ครูผู้ดูแลเด็ก อสม พนักงานกู้ชีพ ในการช่วยเหลือตนเองสามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้
2. กลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียน /ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก /ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก /พนักงานกู้ชีพ
3. วิธีดำเนินการ
1. จัดการอบรมให้ความรู้ แก่นักเรียนในพื้นที่ตำบลหอคำ ได้แก่ หน่วยกู้ชีพ ในอปท. ครูผู้ดูแลเด็ก โดยสอนทักษะการช่วยเหลือตนเอง สามารถผู้ประสบภัยทางน้ำ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการช่วยเหลือ การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ที่ตกน้ำจมน้ำ การส่งต่อผู้ที่จมน้ำไปยังโรงพยาบาลชุมชนอย่างถูกวิธี การจัดหาอุปกรณ์ในการช่วยเหลือไว้บริเวณสระน้ำที่มีความเสี่ยง
2. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและทักษะการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำในกลุ่มนักเรียน ตามหลักสูตรดังนี้
2.1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ เป็นการให้ความรู้และสอนให้เด็กรู้จัก
- แหล่งน้ำเสี่ยงทั้งในบ้าน รอบบ้าน ละแวกบ้านและในชุมชน
- สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน
- วิธีการลงและขึ้นแหล่งน้ำด้วยความปลอดภัย
- ทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทางน้ำ (การปฏิบัติตามระเบียบการใช้สระน้ำ และกฎแห่งความปลอดภัยทั่วไป )
- ความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ
2.2 การเอาชีวิตรอดและพื้นฐานการว่ายน้ำ เป็นการสอนให้เด็กมีทักษะ
- การเอาชีวิตรอดในน้ำ โดยการลอยตัวทั้งการลอยตัวแบบนอนคว่ำ การลอยตัวแบบนอนหงาย (แม่ชีลอยน้ำ ) และการลอยตัวแบลำตัวตั้ง ( การลอยคอ การลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ ) การทำท่าผีจีน
- การใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด เช่น ขวดน้ำพลาสติก รองเท้าแตะฟองน้ำ การเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ลอยน้ำใน
น้ำลึก และการเลือกใช้เสื้อชูชีพ
- พื้นฐานการว่ายน้ำ ได้แก่การสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ การหายใจในการว่ายน้ำ และการ
เตะเท้าคว่ำสลับกัน
2.3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ เป็นการสอนให้เด็กรู้จักการร้องขอความช่วยเหลือจาก
ผู้ใหญ่ การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนอุปกรณ์ เช่น ขวดน้ำดื่มพลาสติก ถังแกลลอน เสื้อชูชีพ และการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นอุปกรณ์ เช่น ท่อ PVC ไม้ไผ่ กิ่งไม้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีและช่วยฟื้นคืนชีพแก่ผู้ตกน้ำ จมน้ำ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล
3. แสวงหาความร่วมมือจากจากเครือข่ายในพื้นที่ เช่นสถาบันทางการศึกษา เพื่อผลักดันหลักสูตร การป้องกันเด็กจมน้ำเข้าเป็นหลักสูตรเสริมสร้างประสบการชีวิตในโรงเรียน และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ
4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (แบบประเมินผลก่อนและหลังการอบรม )
5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหอคำ
4. ระยะเวลาดำเนินการ
ระหว่าง เดือน กรกฏาคม – เดือนสิงหาคม 2566
5. สถานที่ดำเนินการ
ภาคทฤษฎี ห้องประชุมเทศบาลตำบลหอคำ
ภาคปฏิบัติ สถานที่สระว่ายน้ำพีเค จังหวัดบึงกาฬ
6. ระยะเวลาดำเนินการ
วันที่ 1 และ 2 ของการอบรม เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2566 (รายละเอียดตามภาค ผนวก ข )
- นักเรียนจำนวน 84 คน ครูประจำชั้นหรือผู้ควบคุมดูแล และทีมผู้ปฏิบัติงานกู้ชีพเทศบาลตำบลหอคำ 16 คน รวมเป็น 100 คนห้องประชุม เทศบาลตำบลหอคำ
6. งบประมาณ
จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหอคำ จำนวน 50,000 บาท ( ห้าหมื่นบาทถ้วน)
|